ทำไมต้องทำประกัน

วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประกันภัยรถยนต์ เข้าใจง่าย

ประกันภัยรถยนต์ เข้าใจง่าย
       ในปัจจุบันที่ราคารถยนต์เฉลี่ยคันละ 700,000 บาท และมีจำนวนกว่า 30 ล้านคันบนท้องถนนจึงไม่แปลกหากเราคิดจะทำประกันรถยนต์เพื่อปกป้องทรัพย์สินของเราจากอุบัติเหตุ ก่อนจะพูดถึงประกันที่จะคุ้มครองรถยนต์เรามาพูดถึงการประกันที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันจะต้องทำซึ่งก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ร.บ. รถยนต์ 
พ.ร.บ. รถยนต์ให้ความคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัยจากรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ผู้โดยสารคนเดินถนนโดยรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ


       ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ สมมุติว่าคุณละสายตาจากถนนเพียงเซี่ยววินาที พลาดไปชนรถเบนซ์ที่อยู่ข้างหน้า ในรถมีผู้ขับขี่และผู้โดยสารรวม 3 คน ทั้งหมดได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล พ.ร.บ.รถยนต์ให้ความคุ้มครองไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน ในกรณีบาดเจ็บและไม่เกิน 200,000 บาทต่อคน ในกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะจากตัวอย่างสมมุติว่าบาดเจ็บ 3 คนมีค่ารักษาพยาบาลคนละ 60,000 บาทรวมเป็นเงิน 18,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถเบนซ์ 70,000 บาท พ.ร.บ. ของคุณจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้สูงสุดคนละ 50,000 บาท รวมจ่ายทั้งหมด 3 คนเป็นเงิน 150,000 บาท แต่เนื่องจาก พ.ร.บ. ไม่คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินค่าซ่อมรถเบนซ์ 7,000 บาท จึงไม่ได้รับการชดเชยๆดังนั้นจึงมีค่าเสียหายส่วนที่เหลือเท่ากับ 100,00 บาท ในกรณีที่ความเสียหายไม่คุ้มครองโดยกรมธรรม์หรือค่าเสียหายมากกว่าวงเงินที่กรมธรรม์กำหนดผู้ที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเสียหายส่วนที่เหลือ นั่นก็หมายความว่าในกรณีนี้คุณต้องจ่ายเงิน 100,00 บาท จากกระเป๋าตัวเอง

       ดังนั้นการทำประกันเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจึงช่วยป้องกันความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุและเป็นที่มาของการทำประกันภาคสมัครใจ ประกันภาคสมัครใจหมายถึงประกันที่ทำโดยความสมัครใจของเจ้าของรถซึ่งมีความคุ้มครองครอบคลุมมากกว่าประกันภาคบังคับ เช่น คุ้มครองร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคุ้มครองความเสียหายของรถคันเอาประกันคุ้มครองผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถเป็นต้น

       ประกันภาคสมัครใจมีด้วยกันหลายประเภทแต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ประกันชั้น 1 ประกัน 2 พลัส 3 พลัสและประกันชั้น 3 
       โดย ประกันชั้น 1 มีความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุดและลดหลั่นลงมาเป็นประกัน 2 พลัส  3 พลัสและประกันชั้น 3 ตามลำดับ ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกันโดยมีจุดเด่นคือสามารถเคลมได้แม้ไม่มีคู่กรณี เช่น ถอยชนเสา ชนฟุตบาท โดนหินกระจกแตก นอกจากนี้ยังคุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ประกันชั้น 1 เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสูงสุดรถยังอยู่ในสภาพดีมีอายุไม่เกิน 7 ปี

       ถัดมา ประกัน 2 พลัส หรือ ประกัน 2+ ให้ความคุ้มครองแก่ตัวรถของผู้เอาประกันแต่มีเงื่อนไขคือต้องเป็นความเสียหายจากอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น หรือ พูดง่ายว่าเคลมได้ในกรณีรถชนรถนอกจากนี้ยังคุ้มครองกรณีรถหายและไฟไหม้ด้วย ประกัน 2 พลัส เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันเพื่อรองรับอุบัติเหตุใหญ่ต้องการป้องกันความเสี่ยงในกรณีรถหายหรือเป็นรถที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ เช่น รถที่นำไปติดถังแก๊ส นอกจากนี้ประกัน 2 พลัส ยังเหมาะกับผู้ที่อยากทำประกันชั้น 1 แต่ติดเงื่อนไขไม่สามารถทำได้เนื่องจากรถมีอายุมากเกิน หรือ มูลค่าไม่ถึงเกณฑ์ที่บริษัทประกันกำหนด

       ในลำดับต่อมา ประกัน 3 พลัส หรือ ประกัน 3+ มีความคุ้มครองเหมือนประกัน 2 พลัส คือคุ้มครองรถของผู้เอาประกันในกรณีเกิดอุบัติเหตุชนกับรถคันอื่นแตกต่างกันเพียงที่ประกัน 3 พลัส ไม่คุ้มครองรถหายผและไฟไหม้ ดังนั้นหากรถของเรามีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้หรือจลกรรมระดับต่ำ เช่น รถไม่ได้ติดแก๊ส มีที่จอดรถในบ้าน หรือ มีที่จอดที่รักษาความปลอดภัยดีก็อาจพิจารณาทำประกัน 3 พลัส แทน 2 พลัส ก็ได้

       ลำดับสุดท้าย ประกันชั้น 3 ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถของคู่กรณีไม่มีวงเงินซ่อมรถของผู้เอาประกัน ประกันชั้น 3 เหมาะสำหรับป้องกันความเสียหายจากการขับรถไปชนคันอื่นโดยผู้เอาประกันพร้อมรับผิดชอบค่าซ่อมรถตนเองได้หากจำเป็น

       จากที่กล่าวมานั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์โดยมุ่งเน้นให้เราได้เข้าใจและสามารถเลือกทำประกันที่สอดคล้องกับความต้องการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงที่มากับการใช้รถได้อย่างเหมาะสมวันนี้คุณพร้อมรับมือกับความเสี่ยงหรือยัง